ตัววิ่ง

TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE

ตัววิ่ง2

TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE

เกี่ยวกับโครงงานโครงงาน

สีสันผ้าจากธรรมชาติ







ตอริบ   อะหลีกะเส็ม
ศิริชัย  จวงทอง
กมลวรรณ   ปานรงค์
ชั้นมํธยมศึกษาปีที่ 6/1












โรงเรียนพิมานพิยาสรรค์  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555


------------------------------------------------------------------------------------------------------------




โครงงาน


1.โครงงาน   เว็บบล็อกเรื่อง สีสันผ้าจากธรรมชาติ


2.ชื่อผู้เสนอโครงงาน นางสาวกมลวรรณ ปานรงค์

                             นายตอริบ  อะหลีกะเส็ม

                             นายศิริชัย  จวงทอง


3.คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน    คุณครูเชษฐา เถาวัลย์

                                     คุณครูโสภิตา  สังฆะโณ


4.หลักการและเหตุผล

          ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน อาจจะเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ การผจญภัย หรือการทำบุญ แต่เมื่อการท่องเที่ยวกลายเป็นอุตสาหกรรม มีกลไกการจัดการเพื่อนำไปผู้คนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งพร้อมทั้งบริการที่เอื้ออำนวยความสะดวกสบาย มีการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว และสร้างให้เกิดความต้องการในการจับจ่ายสินค้าที่ฟุ่มเฟือยต่างๆ ให้กลายเป็นสวนประกอบหนึ่งในการเดินทางเรียกว่าเป็นการส่งเสริมการบริโภคสมบูรณ์แบบ การท่องเที่ยวมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับ มีการจ้างงานสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งที่เติบโตควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวและนำมาซึ่งคำถามว่า คนท้องถิ่นได้ประโยชน์อะไร และการท่องเที่ยวได้สร้างผลกระทบอะไรบ้างกับชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม

          สตูลเป็นจังหวัดเล็กๆ จังหวัดหนึ่งที่อยู่ปลายด้านขวานด้านทะเลตะวันตก หรือที่รู้จักกันในชื่อ อันดามันทะเลที่มีผิวน้ำสีเขียวมรกต มีปะการังงามมีหมู่เกาะหาดแสนสวย ความหลากหลายของผู้คนและศาสนา ได้ก่อกำเนิดศิลปวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ การตั้งที่อยู่ของวัดและมัสยิดในชุมชนเดียวกัน การมีโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนปอเนาะเคียงคู่กันในชุมชนซึ่งเหมาะกับคำขวัญประจำจังหวัดสตูลคือ สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์

          จังหวัดสตูลได้มีชุมชนจำนวนมากที่ภูมิลักษณะของชุมชนที่เอื้อต่อการสร้างรายได้ให้กับจังหวัดสตูล อย่างเช่น ชุมชนบ้านหัวทาง ชุมชนบ้านหาดทรายยาว ชุมชนบ้านตำมะลัง และชุมชนบ้านเจ๊ะบิลัง เป็นต้น ซึ่งมีภูมิลักษณะที่ติดกับป่าชายเลน โดยได้มีการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนมาใช้ในการย้อมผ้าด้วยสีจากพืชในป่าชายเลน ที่สามารถสร้างอาชีพเป็นรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน เช่น ไม้โกงกาง ไม้แสมดำ และเปลือกลูกจาก เป็นต้น ซึ่งจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และยังมีกลุ่มงานวิจัยโครงการศึกษารูปแบบการจัดการป่าชายเลนที่เป็นรูปธรรมและมีกลุ่มต่างๆหลายกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาในเรื่องทรัพยากรป่าชายเลนนี้โดยได้อาศัยสีย้อมผ้าที่ทำได้เอง ไม่ยุ่งยาก ทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สามารถกำหนดองค์ความรู้ไปสู้รุ่นลูกหลานต่อไป

          ผ้ามัดย้อมที่ได้จากธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทุกคนยังไม่รู้จักกันมากในสังคมโลกภายนอก ทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการเผยแพร่ผ้ามัดย้อมให้กับสังคมในรูปแบบต่างๆนานา อาทิเช่น การออกแบบกระโปรง การออกแบบผ้าพันคอ การออกแบบผ้าต่างๆ เป็นต้นโดยการทำตามคอร์นเสป “Fashion of the cloth ties to dye” โดยมีนักเรียนหรือสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้ที่นำเสนอผ้ามัดย้อมโดยการเดินแฟชั่นโชว์ในวิดีโอสั้นๆ และได้มีการนำเสนอให้สังคมออนไลน์ได้เรียนรู้ และรู้จักผ้ามัดย้อมมากยิ่งขึ้นโดยการสร้างเว็บบล็อกในหัวข้อ สีสันผ้าจากธรรมชาติสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเจตนารมณ์ของชาวบ้านและคณะผู้จัดทำในการเผยแพร่ผ้ามัดย้อมให้กับสังคมภายนอก


5.หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          5.1   เพื่อจัดทำเว็บบล็อกเรื่อง สีสันผ้าจากธรรมชาติ

          5.2   เพื่อจัดทำแฟชั่นโชว์หรือวิดีโอสั้นในการนำเสนอผ้ามัดย้อม

          5.3   เพื่อบอกองค์ประกอบและความเป็นมาของสีย้อมผ้า

          5.4   เพื่อบอกชนิดและคุณสมบัติของสารที่ทำปฏิกิริยาที่ใช้ในการย้อมผ้า

          5.5   เพื่ออธิบายวิธีเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นมาทำผ้ามัดย้อม

          5.6   เพื่อนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการทำผ้ามัดย้อม


6.วัตถุประสงค์
 2.1   เพื่อจัดทำเว็บบล็อกเรื่อง สีสันผ้าจากธรรมชาติ
          2.2   เพื่อจัดทำแฟชั่นโชว์หรือนิตยสารในการนำเสนอผ้ามัดย้อม

   2.3   เพื่อบอกองค์ประกอบและความเป็นมาของสีย้อมผ้า

                    2.4   เพื่อบอกชนิดและคุณสมบัติของสารที่ทำปฏิกิริยาที่ใช้ในการย้อมผ้า

          2.5   เพื่ออธิบายวิธีเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นมาทำผ้ามัดย้อม

          2.6   เพื่อนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการทำผ้ามัดย้อม


7.ขอบเขตของโครงงาน

          7.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผ้ามัดย้อม

7.2  เวลาของการดำเนินงาน คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555

          7.แหล่งค้นคว้าข้อมูล  คือ หนังสือพิมพ์และอินเทอร์เน็ต

8.เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา

8.เว็บบล็อกใช้ในการอัพเดทข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงงาน

8.โปรแกรม Adobe  Photoshop  ใช้ในการตกแต่งภาพถ่าย

8.โปรแกรม Photoscape  ใช้ในการตกแต่งภาพถ่าย

8.4  Google  Drive  ใช้ในการทำแบบสอบถาม  กิจกรรม  และอัปโหลดข้อมูลไปยังเว็บบล็อก

8.5 โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ (Ulead Video Studio V.11)
9.ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ –๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ตอริบ  อะหลีกะเส็ฒ
เสนอโครงร่างโครงงาน
  1.หลักการและเหตุผล
  2.วัตถุประสงค์
  3.สมมติฐาน
  4.ขอบเขตของโครงงาน
  5.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงาน
๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ –๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ศิริชัย จวงทอง
รวบรวมข้อมูล
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - ๙ ธันวาคม ๒๕๕๕
กมลวรรณ ปานรงค์
วิเคราะห์ข้อมูล
๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ -   ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
ตอริบ  อะหลีกะเส็ม
ออกแบบการถ่ายทำวิดีโอ
  1. ฉาก
  2.สถานที่
๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ –     ๖ มกราคม ๒๕๕๖
กมลวรรณ ปานรงค์
ถ่ายทำวิดีโอ
๗ มกราคม ๒๕๕๖ -     ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
ตอริบ  อะหลีกะเส็ม
ตัดต่อและแก้ไขวิดีโอ
๑๔ มกราคม ๒๕๕๖ -   ๒๐ มกราคม ๒๕๕๖
สิริชัย  จวงทอง
นำเสนอโครงงาน
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
กมลวรรณ  ปานงรงค์
      ประเมินผลโครงงาน
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
คุณครู


10.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ทำให้ทราบถึงความเป็นมาของผ้ามัดย้อม

10.2 ทำให้สามารถปรังไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

          10.3 ทำให้เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงที่มาที่ไปของผ้ามัดย้อม