ตัววิ่ง

TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE

ตัววิ่ง2

TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE TMO PHIMAN MAGAZINE

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน้าเพจ..



หน้าเพจ


สีที่ได้จากธรรมชาติ

สีที่ได้จากธรรมชาติ 

                สีธรรมชาติได้จากต้นไม้ ได้แก่ ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ เป็นต้น ซึ่งต้นไม้แต่ละชนิดให้โทนสีต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของต้นไม้นั้นๆ  ซึ่งจะขอยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นบางส่วน ดังนี้
- สีแดง    ได้จาก รากยอ แก่นฝาง  เปลือกสมอ ครั่ง
- สีคราม  ได้จาก ต้นคราม
- สีเหลือง ได้จาก  แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น    ดอกดาวเรือง   
- สีตองอ่อน ได้จาก เปลือกผลทับทิม ต้นคราม ใบหูกวาง เปลือกและผล
- สีดำ    ได้จาก ผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ
- สีส้ม   ได้จาก เปลือกและรากยอ ดอกกรรณิการ์ (ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม) 
- สีเหลืองอมส้ม    ได้จาก ดอกคำฝอย
- สีม่วงอ่อน     ได้จาก ลูกหว้า
- สีชมพู    ได้จาก ต้นฝาง
- สีน้ำตาล   ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกผลมังคุด
- สีเขียว    ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ

การทอผ้า


การทอผ้า
       อุปกรณ์ในการทอผ้า
                        -  หูก                         -  ฟืม เครื่องมือใช้ในการทอ )
                        -  
กง ใช้ในการกวักด้าย )
                        -  
หลักตีนกง ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย )
                        -  
หลา                        -  กระสวย                        -  กี
                                
-  เขายาว ไม้เก็บลายขิด
                       
-  หลอดใส่ด้าย
                               
-  ไม้ค้ำพื้น ไม้พับผ้าที่ทอเสร็จแล้ว )
     ขั้นตอนในการทอผ้า
    1. การฉลุกระดาษลายมัดหมี่
            หลังจากเลือกลายที่จะนำมาเป็นแบบในการมัดหมี่ได้แล้ว ให้ตั้งค่าหน้า   กระดาษเท่าผ้าที่จะทอจริง แล้วปรับขนาดลายให้เต็มหน้ากระดาษ จากนั้นก็สั่งพิมพ์   ออกมาเป็นลายบนกระดาษ สมมติว่าลายข้างล่างนี้เป็นลายที่พิมพ์ออกมาเเล้ว ให้นำ   กระดาษมาเจาะตัดส่วนที่เป็นลายออก ก็จะได้ลายที่สามารถนำไปเป็นแบบในการมัด  หมี่ได้เลย


    
 2. วิธีการลอกลายมัดหมี่
               นำลายที่ฉลุออกแล้ว วางซ้อนทับหัวหมี่ที่เตรียมไว้ เลือกตำแหน่งที่พอดีและ    สวยงามแล้วใช้ดินสอเขียนจุดซ้าย  ขวา ที่ลำหมี่ตามรอยฉลุให้เป็นข้อ ๆ ไว้เพื่อที่จะ  มัดตาม
(ดังรูป)
      
3. วิธีการมัดหมี่  หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึม    เข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที

 4. การมัดโอบหมี่

การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัดโอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีก  สีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบ จะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสี ขึ้น  อยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ  
 5.  การย้อมสี 

                   ขั้นตอนการย้อมสี
        1.     การย้อมสีธรรมชาติ
            1.1  การย้อมเครือหูกให้ต้มน้ำสีที่สกัดจากธรรมชาติประมาณ ลิตรตามต้องการและนำเครือไหมลง    ย้อมในหม้อ ส่วนการย้อมปอยเพื่อกรอเป็นหลอดไว้ทอผ้า ถ้าจะให้เกิดสีมีเงาสวยงามควรเลือกคนละ สีจากเครือหูก
            1.2  ค่อย ๆ เร่งความร้อนขึ้นจนเดือด หมั่นพลิกไหมกลับไปกลับมาเพื่อป้องกันสีด่าง
            1.3  ใช้เวลาประมาณ ชั่วโมง นำออกผึ่งลมให้แห้งแล้งน้ำให้สะอาด 
      2.     การย้อมสีเคมีสำเร็
           -          การย้อมผ้าพื้นโดยใช้สีเคมีสำเร็จ สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติ แต่ควรลด เวลาในการย้อมลงเหลือ 40  50     นาทีเท่านั้น
 6. ขั้นตอนการปั่นหลอด หรือกรอหมี่
              1.แก้หมี่ที่มัดเป็นเปราะ ๆ ออกก่อน การแก้หมี่ คือการแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ออกให้หมด )
 2. นำปอยหมี่ที่แก้เสร็จ ขึงใส่กง แล้วดึงเงื่อนไหมมาผูกติดกับหลอดที่อยู่เข็มไน ใช้มือปั่นหลา หรือไนโดยการหมุนเวียนซ้ายไปตลอด
 3. เมื่อครบขีนของลายทันที แล้วปลดออกจากหลาหรือไนเก็บไว้เพื่อทต่อไป
อุปกรณ์การปั่นหลอด
7.ขั้นตอนการสืบหูก
1.      นำเครือไหมที่ย้อมสีเสร็จแล้ว มากางเพื่อดึงให้เส้นไหมตึงเท่ากันจน
2.      นำเครือไหมที่ตึงเท่ากันแล้วมาต่อใส่ฟืม โดยการผูกติดกับกกหูกกกหูก คือ ปมผ้าไหมเดิมที่ทอติดไว้กับฟืมโดยไม่ตัดออกเพื่อที่จะต่อเครือหูกไว้ทอครั้งต่อไป )


8.วิธีการกางหูก
1.      นำฟืมที่สืบเครือหูกแล้วไปกางใส่กี่ โดยดึงเส้นไหมตึงสม่ำเสมอทุกเส้น
2.      หูกที่กางเสร็จแล้วจะต้องเรียงเส้นไหมหลังฟืม โดยแยกเส้นไหมออกไม่ให้ติดกันความยาวประมาณ เมตร
3.      นำไม้หลาวกลม อัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม.      มาสอดคั่นให้เส้นไหมของ
      เครือหูกไขว้กันเป็นกากบาทอยู่ หลังฟืม เพื่อให้เลื่อนฟืมไปข้างหน้าในวเลาทอได้สะดวก

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผ้าที่นำมาตัด


ผ้าที่ผลิตขึ้นมาใช้บนโลกใบนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดค่ะ ได้แก่
1. ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ (Natural fiber) คือผ้าที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ หรือแม้กระทั่ง ใยหิน ก็สามารถ
นำมาผลิตเป็นผ้าที่ใช้ประโยชน์ได้นะค่ะ
          1.1 ผ้าที่ผลิตจากพืช เช่น ฝ้าย นุ่น ปอ เป็นต้นค่ะ
          1.2 ผ้าที่ผลิตจากสัตว์ เช่น ขนสัตว์ ไหม (ผ้าไหม) เป็นต้นค่ะ
2. ผ้าที่ได้จากเส้นใยที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ (Man-made fiber) คือผ้าที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ โดยการสังเคราะห์ขึ้นจาก
โพลีเอสเตอร์ เป็นต้น
           สำหรับผ้ที่นิยมนำมาตัดเป็นเสื้อยืดและขายตามท้องตลาดในบ้านเราก็เป็นผ้าที่ผลิตจากฝ้ายหรือผ้า Cotton 100%, ผ้าที่ได้จากเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์, และผ้าที่เกิดจากการ
ทอผสมกันระหว่างผ้าฝ้ายและโพลีเอสเตอร์นะค่ะ
ผ้า Cotton 100%
ลักษณะของผ้า cotton คือ นุ่ม ไม่กระด้าง ซับเหงื่อได้ดี ไม่อมเหงื่อ ระบายอากาศได้ดีเยี่ยมค่ะ รวมถึงเมื่อนำไปสกรีนจะสามารถลงสีได้หลายสีค่ะ แต่ก็มีข้อเสียเล็กน้อยก็คือ
เมื่อซักไปได้สักหน่อยจะเริ่มหดตัว ย้วยเล็กน้อยน่ะค่ะ แต่ทุกวันนี้ก็มีการพัฒนาจนปัญหานี้เริ่มหมดไปแล้วแหละค่ะ
          ตามท้องตลาดจะเห็นพ่อค้าแม่ค้าเรียกผ้าชนิดนี้เป็นเบอร์ อย่างเช่น เบอร์ 20, 32 และ 40 ก็ขอให้เข้าใจเลยนะค่ะว่ายิ่งเบอร์น้อย เส้นด้ายที่นำมาทอก็จะเป็นเส้นด้ายที่มีขนาดใหญ่
กว่าผ้าที่มีเบอร์มากค่ะ เมื่อนำไปตัดเสื้อผ้าเบอร์น้อยกว่าก็จะได้เสื้อที่มีขนาดหนากว่าและคุณภาพก็ด้อยกว่าผ้าที่มีเบอร์มากด้วยนะค่ะ ผ้าเบอร์ 20 นิยมนำมาตัดเป็นเสื้อยืด เสื้อโปโล
สำหรับผู้ชาย ส่วนผ้าเบอร์ 32 ราคาจะสูงขึ้น นิยมนำมาตัดเป็นเสื้อผ้าผู้หญิงค่ะ สำหรับผ้าเบอร์ 40 จะไม่ค่อยมีมากนักนะค่ะ เพราะราคาสูงมากค่ะ
ผ้าชนิดนี้นิยมนำมาตัดเป็นเสื้อผ้าสำหรับเด็กค่ะ
ผ้าที่ได้จากเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (ผ้า TK) 
เป็นผ้าที่ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ 100% ค่ะ เนื้อผ้าจะค่อนข้างอยู่ทรง ไม่ค่อยยับ ลักษณะค่อนข้างมันวาว สีไม่ตก การดูดซับน้ำไม่ค่อยดีนัก รวมถึงการระบายอากาศก็ไม่ค่อยดีเช่นกัน
ผ้าชนิดนี้เมื่อใส่ไปนานๆ จะเริ่มมีปุ่มขึ้นมาบนเนื้อผ้า แต่จุดเด่นของผ้าชนิดนี้คือ ราคาค่อนข้างถูกค่ะ
ผ้าทอผสมระหว่าง Cotton และ เส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (ผ้า TC, CVC และ CTC)
ตามชื่อเลยค่ะ ผ้าชนิดนี้เกิดจากการทอผสมกันระหว่าง Cotton กับ เส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันซึ่งก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันดังนี้ค่ะ
  • ผ้า TC เป็นการผสมกันระหว่าง cotton และ โพลีเอสเตอร์ ในอัตราส่วน 65 : 35 คุณสมบัติ ไม่ยืด ไม่ย้วย ทนทานต่อการซักได้ดีค่ะ
  • ผ้า CVC เป็นการผสมกันระหว่าง cotton และ โพลีเอสเตอร์ ในอัตราส่วนประมาณ 80 : 20 คุณสมบัติคล้าย Cotton 100% แต่ยืดน้อยกว่า หดน้อยกว่า ซับเหงื่อได้ดีค่ะ
  • ผ้า CTC เป็นการผสมกันระหว่าง cotton และ โพลีเอสเตอร์ ในอัตราส่วนประมาณ 70 : 30 คุณสมบัติอยู่ระหว่าง ผ้า TC กับ ผ้า CVC ค่ะ
ตอนนี้คุณลูกค้าก็คงจะพอเข้าใจคร่าวๆแล้วนะค่ะว่า ผ้ามีแบบไหนบ้างและคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร ลองๆไปเดินดูตามท้องตลาดเพื่อเปรียบเทียบกันอีกทีนะค่ะ
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวไปเลือกซื้อเสื้อผ้าเข้าร้านก่อนนะค่ะ เอาไว้คราวหน้าจะเอาเกล็ดความรู้ดีๆ มาฝากอีกนะค่ะ บ๊ายบายค๊า

ลักษณะของเนื้อผ้าชนิดต่างๆ


ผ้าทูเวย์       
                    ผ้านิ่ม เนื้อยืด ยับยาก รีดง่าย ผ้าทิ้งตัวมีน้ำหนัก             
ผ้าสลาฟ            
         ผ้าเนื้อแข็ง แต่ยับยาก มีลายผ้าในตัว ผ้าเนื้อลื่นเล็กน้อย เนื้อเบาค่อนข้างหนา มีทั้งยืดและไม่ยืด
ผ้าซาติน          
                            ผ้าเนื้อแข็ง ไม่หนา เนื้อเบา ไม่ทิ้งตัว แต่เป็นเงา เนื้อลื่น มีทั้งยืดและไม่ยืด                         
ผ้าสแปนเด็กซ์    
                                        ผ้าเนื้อนิ่ม ไม่หนา ผ้ายืด ทิ้งตัว มีน้ำหนัก ยับง่าย แต่ก็รีดง่าย                                        
ผ้าคอตตอน         
              ผ้ายืดเนื้อเบา ไม่หนา ไม่ทิ้งตัว ความยากง่ายในการรีดขึ้นอยู่กับเปอร์เซนต์ของเนื้อผ้า           
                           โดยทั่วไปเบิร์ดจะขายแต่ประเภทคอตตอน 100% เพราะนิ่มสบายตัว รีดง่าย                      
ผ้ามัสริน             
                     ผ้าไม่ยืด เนื้อเบา ไม่ทิ้งตัว ส่วนใหญ่เนื้อผ้าจะเบาบาง เหมาะใส่หน้าร้อนบ้านเรา
                                ยับง่ายแต่ก็รีดง่าย                                     

ผ้าชีฟอง              
             ผ้าไม่ยืด เนื้อเบา เนื้อผ้าหรูส่วนใหญ่ใช้ตัดเป็นเสื้อผ้าหรือชุดออกงาน ออกแนวหวานๆ          

ชนิดผ้า ลักษณะผ้า และเนื้อผ้าพันคอ


ชนิดผ้า ลักษณะผ้า และเนื้อผ้าพันคอ




ลักษณะของเนื้อผ้า โดยทั่วไปเนื้อผ้าพันคอมีมากมายหลายแบบ แต่เราขอแนะนำในส่วนของผ้าที่ส่วนใหญ่ นิยมใช้ในการผลิตผ้าพันคอในร้านของเรา ซึ่งมี 3 ชนิด ดังนี้
เนื้อผ้า
ความยืดหยุ่น
การระบาย
อากาศ
ราคา
Cotton 100% (ผ้าฝ้าย)
สูงมาก
สูงมาก
สูง
TC (Cotton ผสม Polyester)
ปานกลาง
ปานกลาง
จัดว่าอยู่ในเกณฑ์สูงอยู่
TK (Polyester หรือ ใยสังเคราะห์)
พอใช้
พอใช้
ถูกกว่าเนื้อผ้าชนิดอื่น
       
          ผ้าฝ้าย (cotton)
นิยมใช้ทำเครื่องแต่งกายชนิดต่างๆ และผ้าพันคอ มีราคาค่อนข้างสูง สมบัติทั่วไปของผ้าฝ้าย
ก็คือ สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี
  ซับเหงื่อได้ดีเยี่ยม เนื้อผ้าจะมีลักษณะด้าน แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนก็คือมันจะยับง่าย เมื่อซักบ่อยๆ ก็จะย้วย เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้ในที่กลางแจ้งและโดนแดดบ่อยๆ เพราะผ้าจะระบายอากาศได้ดีไม่ค่อย อมเหงื่อ หรือต้องการความหรูหราใส่สบายแต่ราคาอาจจะสูงซักนิดนึง

ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/C หรือ TC
เป็นผ้าที่มีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์ และนำเนื้อฝ้ายเข้ามาผสมรวมด้วยกับผ้าพันคอ                              คุณสมบัติก็จะอยู่กลางระหว่างผ้า cotton และผ้า TK ผ้าชนิดนี้นิยมทอผ้าให้มีลักษณะเป็นรู
เนื่องจากผ้าประเภท TK และ TC มีสมบัติในการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก การทอผ้า
จึงนิยมทอผ้าให้มีรูเล็กๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ และเพื่อความสบายในการใช้งาน
เนื้อผ้าจะมีลักษณะความมัน (น้อยกว่า TK)   
เหมาะกับคนที่เหงื่อออกง่ายแม้ทำงานอยู่ในห้องแอร์              เพราะระบายอากาศได้ดีพอสมควรและ ข้อดีที่โดดเด่นกว่า Cotton 100%คือ อยู่ทรง ไม่หดไม่ย้วย          (ส่วน Cotton จะคุม% ความหดและย้วยลำบาก)

ผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/K หรือ TK
เป็นผ้าที่มีส่วนผสมหลักเป็นใยสังเคราะห์ เนื้อผ้าจะมีลักษณะมัน ลื่นมือคุณสมบัติทั่วๆไป คือ ผ้า TK จะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตก  แต่ข้อเสียก็คือเสื้อที่ทำจากผ้า TK จะค่อนข้างร้อน เนื่องจากระบาย อากาศไม่ดี ผ้า TK จึงนิยมทอ ให้มีลักษณะเป็นรูเช่นกัน ทนทาน หาได้ง่าย และมีวางขายตามท้องตลาด เหมาะที่จะใช้ในห้องแอร์ ไม่ค่อยโดนแดด

ผ้าพันคอแฟชั่น



ผ้าพันคอแฟชั่นสไตล์เกาหลี